บ้านสไตล์โมเดิร์นลอฟท์ ผลงานการออกแบบและก่อสร้างโดย สามดอร์-การช่าง พิษณุโลก บ้านที่มีรูปทรงเรียบง่ายแต่สวยงามทันสมัย มีพื้นที่ใช้สอยที่กว้าง มาพร้อมกับการตกแต่งที่เน้นความสวยดิบจากเนื้อวัสดุอย่างปูนเปลือย ซึ่งเป็นดีไซน์ที่ได้รับความนิยมสูง
บ้านหลังนี้เป็นบ้านขนาดสองชั้น ตัวบ้านมีรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบเรขาคณิต ซึ่งให้กลิ่นอายของบ้านทรงโมเดิร์นได้อย่างชัดเจน หลังคาของบ้านเป็นแบบทรงสโลปที่เข้ากันได้ดีกับตัวบ้าน โดยความโดดเด่นของบ้านหลังนี้จะอยู่ที่การตกแต่งด้วยผนังปูนเปลือยแบบสวยดิบในแบบอินดัสเทรียลลอฟท์นั่นเอง
รอบตัวบ้านถูกเลือกใช้บานประตูและหน้าต่างแบบกระจกสีเข้ม ซึ่งจะช่วยกรองแสงที่สาดส่องเข้ามาภายในบ้าน จึงทำให้บ้านเย็นสบายได้ตลอดทั้งวัน
บริเวณประตูทางเข้าของบ้านจะมีความเรียบง่าย โดยเป็นประตูแบบบานเลื่อนในโทนสีดำ บริเวณรอบ ๆ ได้ความสวยดิบมาจากผนังปูนเปลือยแบบเรียบ ๆ
ภายในห้องนั่งเล่นที่มีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางนั้น ถูกตกแต่งในกลิ่นอายแบบอินดัสเทรียลอย่างชัดเจนด้วยผนังอิฐโชว์แนว แนวการเดินสายไฟแบบภายนอก
ห้องนี้เป็นห้องทำงานส่วนตัวของบ้าน ซึ่งเหมาะกับปัจจุบันที่คนเริ่มนิยมการทำงานจากที่บ้านกันมากขึ้น การออกแบบห้องนี้จึงตอบโจทย์
บริเวณมุมนี้เป็นห้องโถงบันไดที่เชื่อมไปยังบริเวณชั้นลอง ซึ่งถึงแม้จะให้บรรยากาศที่อึมครึม แต่ก็มีช่องหน้าต่างที่รับเอาแสงจากภายนอกเข้ามายังภายในได้อย่างพอดี
ภายในห้องนอนของบ้านจะมีความเรียบง่าย ผนังด้านในยังคงตกแต่งในแบบปูนเปลือยเรียบ ๆ เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องจะเป็นเหล็กแทบทุกชิ้น เพื่อให้เข้ากับธีมของอินดัสเทรียลลอฟท์
บริเวณนี้จะเป็นส่วนของครัวไทย ซึ่งจะแยกออกมาจากภายในบ้าน จึงเหมาะกับการทำเมนูอาหารไทยที่มีกลิ่นและควันค่อนข้างมาก ทำให้ต้องการพื้นที่แบบเเปิดโล่ง
สำหรับห้องน้ำนั้น เป็นห้องที่ออกแบบเรียบง่าย เน้นการใช้งานเป็นหลัก ภายในจึงมีพื้นที่ใช้สอยพอประมาณ พร้อมกับมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอต่อทุกการใช้งาน
บ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์นลอฟท์หลังนี้ประกอบไปด้วย 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องทำงาน 1 ห้องครัวหลัง 1 ห้องโถงขนาดใหญ่ งบก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 1.35 ล้านบาท
ปล. งบประมาณในการสร้างบ้านแต่ละหลังที่แตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ก่อสร้าง คุณภาพหรือเกรดของวัสดุ การว่าจ้างช่างฝีมือหรือผู้รับเหมา ฯลฯ ดังนั้น ข้อมูลของบ้านหลังนี้จึงมีไว้เพื่อเป็นตัวอย่างให้ศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเป็นมาตรฐานในการสร้างบ้านอื่น ๆ ที่มีสภาพปัจจัยที่แตกต่างกันได้