พิษณุโลก ชาวตำบลคันโช้ง “สุดซ้ำ” พบ ส.ว.วอนกรมชลประทาน สนองพระราชดำริ
วันที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 13.00 น.คณะสมาชิกวุฒิสภา นำโดยพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และประธานคณะคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน นำคณะสมาชิกวุฒิสภา อาทิ พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ รองประธานคณะกรรมการ คนที่หนึ่ง นายชลิต แก้วจินดา รองประธานคณะกรรมการ คนที่สองนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประทศ พลเอก สำเริง ศิวาดำรงค์ พลเอก โปฎก บุนนาค นายทรงเดช เสมอคำ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ นายเฉลียว เกาะแก้ว นายจัตุรงค์ เสริมสุข พลเอก ประสาท สุขเกษตร นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา ศาสตราจารย์พิเศษกาญจนารัตน์ วิโรน์ และนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
โดยเดินทางไปรับฟังปัญหาความเดือดร้อนประชาชนที่วัดน้ำโจน หมู่ที่ 4 ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก มีนายธีรัชสิทธิ วงศ์วาน ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) พิษณุโลก และหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ให้การต้อนรับและร่วมชี้แจงปัญหาพื้นที่ ซึ่งทางคณะสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดโอกาสทุกคนแสดงความคิดเห็น
นายปราโมทย์ เมืองเปรม นายก อบต.คันโช้ง กล่าวถึงปัญหาความทุกข์ของชาวตำบลคันโช้งว่า เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทาน เพื่อราษฎรทุกหมู่เหล่าโดยใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน ในปร 2546 กลุ่มชลประทานได้เข้ามาดำเนินการ ก่อสร้างทำให้มีการเวนคืนที่ดินของคนตำบลคันโช้งเป็นจำนวนมาก และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีด้วยมีความคาดหวังว่าจะรับการดูแลและส่งเสริมอาชีพตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
นายปราโมท กล่าวอีกว่า ประการหนึ่งที่ได้สัญญาว่าจะทำเพื่อทดแทนให้ชาวบ้านที่เสียสละพื้นที่คือการสร้างแก่งเทียมทดแทนแก่งเจ็ดแคว ที่ถูกน้ำท่วมจากการสร้างขึ้นมีการออกแบบและตั้งงบประมาณไว้ที่ 46 ล้านบาท แต่โครงการนี้ไม่ได้เกิดขึ้น ต่อมาในช่วงปี 2556- 2561 คนตำบลคันโช้งได้จัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยวตำบลคันโช้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนช่วงเดือนกุมภาพันธ์- เมษายนของทุกปี โดยจัดเทศกาล”นั่งแคร่แช่น้ำ”เพื่อให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำคลายร้อน มีซุ้มบริการอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
” ขอให้ช่วยติดตามโครงการก่อสร้างแก่งเทียม ทดแทนแก่งเจ็ดแคว ขอจัดกิจกรรมนั่งแคร่แช่แช่น้ำในห้วงเวลา 2 เดือนเพื่อรายได้เสริมจากการไม่ได้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ขอปรับพื้นที่รอบสระมรกต หมู่ที่ 1 บ้านห้วยสัก เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นจำหน่ายผลิตภัณฑ์ร้านค้าชุมชน วางท่อระบบส่งน้ำท่อใยหินจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เพื่ออุปโภคบริโภค “นายก อบต.คันโช้ง กล่าว
ต่อมา อดีตปลัด อบต.คันโช้ง และผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวโจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของกรมชลประทานอย่างเผ็ดร้อน ที่ไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนหลายด้านตามแนวทาง แม้ว่าจะมีเขื่อนเกิดขึ้น โดยอ้างขัดต่อระเบียบ ประการสำคัญขาดระบบชลประทานในการทำเกษตรกรรม เนื่องจากไม่สามารถนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแควน้อยมาใช้ได้เลย ปัจจุบันไม่ได้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาบรรเทาปัญหาความต้องการของคนตำบลคันโช้ง
นายวรวุฒิ เนียมน้อย ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ชี้แจงว่า จะต้องปล่อยน้ำตามระบบบริหารจัดการน้ำ จากส่วนกลาง หากปล่อยน้ำจากเขื่อนฯแรง ย่อมจะเป็นอันตรายต่อคนเล่นน้ำหน้านอกจากนี้ที่ผ่านมา มีการสร้างห้องน้ำ และปรับปรุงตลิ่งโดยไม่ขออนุญาต
ในที่สุดพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ได้ขอทุกฝ่ายประกอบด้วยนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. นายก อบต.ผอ.เขื่อนแควน้อย ผอ.ทสจ. และคณะทำงาน เป็นต้น ปรึกษาหารือแนวทางข้อสรุป
ข้างแจ้งว่า ที่ผ่านมา”กรมศิลปากร”ได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อย ตามสัญญาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 สิ้นสุดสัญญาจ้าง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ในวงเงิน 33,500,000 บาท เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยกับความสัมพันธ์ด้านการชลประทานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จัดแสดงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยาของชุมชนในพื้นที่ อ.วัดโบสถ์ รวมทั้งเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ การประชุม สัมมนา โครงการพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรและเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้ส่งมอบอาคารและสินทรัพย์ของพิพิธภัณฑ์ ฯจากกรมศิลปากร ให้ห้กรมชลประทาน และปรับปรุง
นายวรวุฒิ เนียมน้อย ผอ.เขื่อนแควน้อยฯ ชี้แจงว่า กรมชลประทานเพิ่งรับโอนมาช่วงปลายปี 65 ที่ผ่านมา กำลังวางแผน เพื่อซ่อมแซมพิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อยเนื่องจากทรุดโทรมไปมาก