วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ห้องประชุม 2302 อาคาร 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เป็นประธานเปิดกิจกรรมและชี้แจงทิศทางการรณรงค์เฝ้าระวังด้วยระบบ ติดเหล้ายัง.com เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ลด ละ เลิก แอลกอฮอลล์ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลเข้าพรรา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเช็คร่างกาย และเสี่ยง ต่อสุขภาพเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์
ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า จากการสำรวจอัตราการดื่มแอลกอฮอล์ ในประชากรผู้ดื่มอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าในปี พ.ศ.2564 มีการดื่มมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่ จังหวัดน่าน มากถึงร้อยละ 43.3 ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์สถานที่ที่มีการดื่มมากสุดคือ ที่บ้านตนเอง/ผู้อื่น ร้อยละ 86.8 , ดื่มที่ร้านจำหน่าย ร้อยละ 66.5 และการดื่มที่งานเทศกาล/งานประเพณี ร้อยละ 59.4 โดยทางสสส. สาธารณสุข อสม. รพ.สต. มีเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ติดเหล้ายัง.com โดยมีการเฝ้าระวังโดยเชิญผู้เกี่ยวข้อง พร้อมสื่อมวลชนรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ ในช่วงก่อนเทศกาลเข้าพรรษา โดยได้จัดอบรมในพื้น 4 ภาค ที่ผ่านมาได้จัดแล้วที่ภาคใต้ ภาคเหนือที่ จ.เชียงราย ภาคเหนือตอนล่างที่ จ.พิษณุโลก และจะไปภาคอีสาน ที่ จ.ขอนแก่นเป็นจังหวัด ต่อไป สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เริ่มดื่ม กลุ่มคนที่ดื่มมายาวนานเลิกไม่ได้ และกลุ่มคนที่ดื่มหนักคนมีอาการป่วย ที่ผ่านมา หาก อสม. ในพื้นที่ชุมชนเข้มแข็งเฝ้าระวัง บ้านกลุ่มเสี่ยง เพื่อร่วมกันใช้พลังชุมชนช่วยให้การดื่มเหล้าลดลงในชุมชน
นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดแอพพลิเคชั่น ติดเหล้ายัง.com เพื่อให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบว่าติดเหล้าหรือยัง เป็นการให้กรอกข้อมูล เพื่อประเมินว่าผู้ที่ดื่มเหล้า ติดเหล้าแล้ว หรือยัง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นความลับ สามารถมาปรึกษากี่ครั้งก็ได้ แต่หากไม่ปรึกษาเสี่ยงจะช่วยอย่างไร ที่ผ่านมาในระดับชุมชน มี อสม.เข้าไปวิเคราะห์ช่วยเหลือแต่ไม่มีข้อมูล แต่ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นดังกล่าว สามารถตรวจสอบ วิเคราะห์ผ่านทางมือได้ในทันที สะดวกรวดเร็วขึ้น
นายแพทย์ พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทย ดื่มเหล้า 30% โดยเฉลี่ยดื่ม 6-8 ลิตร/คน/ปี แนวโน้มการดื่มเหล้ามากถึงขั้นติด ส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มวัยกลางคน ส่วนเด็กเยาวชนนับว่าการดื่มเหล้ามีไม่มากนัก เฉลี่ยที่อายุน้อยสุดอยู่ในวัย 20 ปี อาจเป็นผลจากการรณรงค์ทำให้กลุ่มเด็กเยาวชน มีการเรียนรู้ ว่าการดื่มเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ และมีโทษอย่างไร อีกทั้งการเข้มงวดเรื่องดื่มไม่ขับ ทำให้กระแสคนดื่มลดลง จึงนับเป็นความโชคดีของสังคมในยุคปัจจุบัน เด็กเข้าถึงเหล้าน้อย และคนผู้ไม่ดื่มเหล้ามีมากถึง 70% ดังนั้นเว็บไซต์ ติดเหล้ายัง.com จึงเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้าร่วมจัดทำบันทึก และประเมินผลการติดแอลกอฮอล์ ซึ่งในกรณีที่พบว่าติดแอลกอฮอล์ จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาอาการจากทางการแพทย์ ทั้งนี้ อยู่ที่ความสมัครของประชาชนที่สนใจเลิกเหล้าด้วย
////////////