นายจารุต ภิญโญกีรติ (ห้องเสื้อเพชร) ให้ข้อมูลเรื่อง ชุดผ้าไทย ของ เจ้าคุณพระสินีนาฏ ซึ่งเป็นชุดผ้าทอประจำจังหวัดพิษณุโลก
จากข้อมูลเรื่องชุดผ้าไทยของ พลตรีหญิง เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี นายจารุต ภิญโญกีรติ (ห้องเสื้อเพชร) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุดผ้าไทยไว้ว่า ในชุดผ้าทอประจำจังหวัดพิษณุโลกประกอบด้วย
- ผ้าไมสีม่วงลายดอกปีบ
- ผ้าฝ้ายลายดอกปีบ
- ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมครั่งทับครมาน
ซึ่งเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ได้มีแนวความคิดอยากให้นำผ้าทั้งสามชิ้นที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้นำส่งมอบมา และให้นำมาออกแบบและตัดเย็บโดยให้นำผ้าทั้งสามขิ้นตัดเย็บประกอบออกมาเป็นชุดหนึ่งชุดภายใต้แนวความคิดที่ใช้ในการออก “เราคือประชาชนของพระราชา”
ผ้าไหมสีม่วงลายดอกปีบ ผ้าฝ้ายลายดอกปีบ ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมครั่งทับครมาม ผ้าทั้งสาม ชนิดสามสี และเส้นใยที่แตกต่างกัน ทั้งหมดได้ถูกออกแบบและตัดเย็บรวมอยู่ในชุดเดียวกัน แสดงออกให้เห็นและเข้าใจว่าประชาชนคนไทยไม่ว่าจะมี อาชีพ ฐานะที่แตกต่างกันทุกคนต่างใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขในพื้นแผ่นดินไทยภายใต้พระบารมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเดล้าเจ้าอยู่หัว
เทคนิคการประดับและตกแต่งของชุด ประกอบด้วย
- ตะเข็บตกแต่งด้วยใส้ไก่สอดเชือก มีความหมายว่า ใส้ไก่สอดเชือกถึงจะเล็กและมีหน้าที่เพียงขั้นระหว่างผ้าสองชิ้นแต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเพระได้ทำหน้าที่ให้ผ้าทั้งสองชิ้นเมื่อเขื่อมต่อกันแล้วมีความคมขัดและสวยงามขึ้น เปรียบเหมือน” คันนา”
- การสานตะขาบ เพื่อตกแต่งตะเข็บรอยต่อชายกระโปรง มีความหมายคือ ใส้ไก่เส้นเล็กๆหลายๆเส้นที่ถูกถักทอขึ้นเป็นลายตะขาบ แสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติจะนำพาให้คนในชาติก้าวข้ามผ่านในทุกอุปสรรค แนะนำมาในความเจริญรุ่งเรืองของทุกคนในชาติไทย
- มุก ที่ใช้ประดับที่รอยต่อของชายกระโปรงส่วนล่างของกระโปรง สื่อให้ทราบถึงว่าพระองค์ท่านมีความเข้าอกเข้าใจในทุกความรู้สึกของประชาชนชาวไทยทุกคน
ที่มา: Facebook – กลุ่มรัก “พลตรีหญิง เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี”
- เข็มกลัดงานฟาร์แบร์เฌ เครื่องประดับกายเจ้าคุณพระสินีนาฏ
- ในหลวง พระราชินี ทรงเจิมเทียนรุ่ง เนื่องใน วันมาฆบูชา 2564
- ในหลวงฯ ร.10 พระราชทาน ภาพวาดฝีพระหัตถ์ พร้อมประทับตรา เจ้าคุณพระ
- เจ้าคุณพระสินีนาฏ ร่วมกิจกรรมจิตอาสา ฝึก CPR ณ โรงเรียนจิตรลดา
- เจ้าคุณพระสินีนาฏ เป็นผู้แทนพระองค์ บำเพ็ญพระราชกุศล 50 วัน สมเด็จพระญาณวชิโรดม